แนวคิด ของ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ได้ศึกษา หาสาเหตุการพัฒนาของประเทศไทยที่ล้าหลัง มีทิศทางตามประเทศอื่นๆอยู่เสมอ การศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยการเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว การศึกษาเปรียบเทียบนี้ได้แสดงให้เห็นภาพการพัฒนาของประเทศไทยได้อย่างดี

งานของ ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ทำให้เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ วิถีการดำรงชีวิต ลักษณะเศรษฐกิจสังคมของคนไทยในอดีต ตั้งแต่ก่อนเกิดขึ้นของรัฐ(สยาม) จนกระทั่งเป็นรัฐ ไทย โดยกระบวนการขูดรีดของรัฐไทยต่อชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ ชุมชนอ่อนแอ และยังยากจน และตอบคำถามว่าเหตุใดผู้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในประเทศที่อุดมสมบรูณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกยังต้องเผชิญกับความขัดสน ยากจน ขัดแย้ง สิ้นหวัง มีช่องว่างระหว่างความรวยกับความจนมากขึ้น และเหตุใดระบบเศรษฐกิจไทยก็ยังต้องตามประเทศพัฒนาอื่นๆ อยู่จนถึงทุกวันนี้

จากความพยายามดังกล่าว ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ได้เสนอแนวคิดสำคัญเพื่อเป็นทางเลือกในการปลดแอกจากการตามขั้นตอนการพัฒนาที่เป็นแนวคิดจากภายนอกสังคมของเรา ก็คือ เราทุกคนควรมีพันธะและภาระที่ต้องร่วมทำให้ชุมชนของเราเข้มแข็ง ฟื้นจิตสำนึกที่ดีงามของเราขึ้นมา เพื่อร่วมกันใช้และรักษาทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน กล่าวคือ ชุมชนต้องเข็มแข็งเพียงพอที่จะต่อรองกับรัฐที่แปรเปลี่ยนตามกระแสโลก ในขณะเดียวกัน ก็ต้องร่วมมือกับรัฐ เพื่อพัฒนาประเทศไทยร่วมกัน